เรื่องไม่ลับ-ฉบับนักเดินทาง
อิ่มบุญ สุขใจ-ไหว้พระ ขอพร
ตระเวนกิน-เมนูเด็ดต่างแดน
ตามรอยหนังฮิต-ซีรีส์โดนใจ
บันเทิง-และความสนุก
ธรรมชาติ-และการผจญภัย
วัฒนธรรม-และประวัติศาสตร์
อัพเดตสถานการณ์-COVID19
ชาเนย (Butter tea) หรือเรียกว่า เผอจา มีมานานแล้วในทิเบต ตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 7 ปัจจุบันชานี้ได้แพร่หลายไปทั่วในหมู่ชาว Himalayan ในประเทศเนปาล อินเดีย และภูฏาน เป็นที่นิยมในทุกเพศทุกวัยวัย ตั้งแต่เด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
ชาวทิเบตอาศัยอยู่บริเวณที่เรียกว่า หลังคาโลก ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากพอสมควร จึงมีอากาศหนาวเย็น และมีอากาศน้อย ต้องยังชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์ และเกษตรกรรม กินอาหารจำพวกแป้งเป็นหลัก มีโอกาสกินผัก หรือผลไม้น้อยมาก ดังนั้นน้ำชาจึงเป็นอาหารเสริมที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวทิเบต การดื่มชาใส่น้ำมันเนยของชาวทิเบตจึงมีความสำคัญเทียบเท่ากับการบริโภคข้าวของคนไทยอย่างเราๆ
ชาถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของชาวทิเบตเลยก็ว่าได้ คนเลี้ยงสัตว์ตามภูเขาอาจจะดื่มมากถึง 40-60 ถ้วยต่อวัน เพราะชาร้อนๆ ที่เต็มไปด้วยไขมันจะช่วยป้องกันไม่ให้ปากแตก รวมทั้งให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายในการดำรงชีวิตบนยอดเขาสูง หากมีแขกมาเยือนที่บ้าน ชาก็เป็นเหมือน Welcome Drink นี่เอง เจ้าบ้านจะคอยเติมชาใส่ถ้วยทุกครั้งเวลาที่แขกยกดื่มแต่ละอึก เพื่อให้แขกดื่มชาจากถ้วยที่เต็มอยู่ตลอดเวลา หากเราไม่ต้องการดื่มอีก ก็สามารถปล่อยให้ชาในถ้วยเย็น ทิ้งไว้เต็มถ้วยอย่างนั้น เจ้าบ้านก็จะไม่โกรธ ที่เราไม่ทำให้ถ้วยชาว่างเปล่า
ส่วนใบชาที่นำมาใช้จะเป็นใบชาผู่เอ๋อ (Puer Tea) ชาทิเบตเป็นประเภทชาดำ เก็บด้วยการอัดเป็นก้อน กระบวนการในการทำชาเนยนั้น ต้องต้มใบชาหลายชั่วโมง จนกว่าน้ำจะกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม จากนั้นรินชาใส่ในกระบอกปั่นชา ใส่เนยจามรี (Yak Butter) และใส่เกลือตามลงไป แล้วชักลูกสูบขึ้น-ลง จนกว่าน้ำชาจะผสมเข้ากันจนมีลักษณะข้นจึงถือว่าใช้ได้ แล้วก็เทเสิร์ฟในถ้วยเซรามิค ชาเนยทิเบตนั้นเนื้อสัมผัสจะเป็นครีมๆ มันๆ ให้พลังงานสูง
ในเขตที่มีการเลี้ยงจามรีจะมีการดื่มชาเนยโดยต้มชากับนม แต่ในเขตที่ไม่ได้เลี้ยงสัตว์หานมสดยาก จะใส่เกลือในชาดำ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ชาเนยทิเบตนี้เมื่อเก็บไว้ในหนังจามรีเป็นเวลานานเป็นสิบปี จะกลายเป็น "ชาหมัก" ซึ่งกลายเป็นชาสุขภาพ ชาแบบนี้ยิ่งเก่ายิ่งมีคุณค่า และมีราคา นมของจามรีอุดมไปด้วยไขมัน สามารถทำ butter ได้มากกว่านมวัว 2-3 เท่า
ชาที่ใส่น้ำมันเนยจะมีความหลากหลายในรสชาติ เวลาดื่มจะมีกลิ่นหอม และมีรสหวานปนขมของรสชา น้ำมันเนยนั้นยังช่วยให้เกิดคุณค่าทางโภชนาการมากมาย โดยจะช่วยให้มีพลังงานให้กับร่างกาย ลดกรดในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการท้องผูก แถมยังส่งผลดีให้กับหัวใจ ช่วยลดโคเลสเตอรอล นอกจากนี้ยังมีกรดบิวทิริก และ Omega-3s ชนิดดีซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพของลำไส้ และการเผาผลาญ ลดอาการคัดจมูก และช่วยให้ร่างกายเกิดความอบอุ่นในสภาพแวดล้อมอันหนาวเหน็บ
ขอบคุณภาพ และข้อมูลจาก :
- http://www.thirstyfortea.com/2017/01/27/himalayan-salt-butter-tea/
- https://www.facebook.com/eleptea
- https://www.howtoclicks.com/board/182
- http://commontea.com/what-is-tibetan-butter-tea/
- https://www.tasteatlas.com/butter-tea/wheretobuy
- https://www.findchina.tw/2013/09/blog-post_27.html
- https://www.yowangdu.com/tibetan-food/butter-tea.html
- https://www.drkevwesblog.com/2018/02/a-small-monk-in-tibetan-temple-digging.html
- http://inamre.blogspot.com/2013/03/tibetan-plateau-roof-of-world.html
- https://www.flickr.com/photos/[email protected]/5280778100/in/album-72157625655650412/
- https://www.flickr.com/photos/reurinkjan/14439913022
- https://www.flickr.com/photos/[email protected]/27617148791/
- https://chronicwnderlst.wordpress.com/2014/03/27/an-alternative-to-oral-lore-over-a-cup-of-yak-milk/
- https://asianinspirations.com.au/food-knowledge/5-breakfast-beverages-from-around-asia/
- https://www.greattibettour.com/tibet-tour-advice/7-most-famous-delicacy-in-tibet-1524
ในดินแดนบนเทือกเขาหิมาลัยที่มีพื้นที่ครอบคลุมหลายประเทศ มีสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่เหมือนๆ กัน นั่นก็คือ "ธงมนต์" ที่แสดงถึงความเคารพ ความศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ร่วมกัน