เรื่องไม่ลับ-ฉบับนักเดินทาง
อิ่มบุญ สุขใจ-ไหว้พระ ขอพร
ตระเวนกิน-เมนูเด็ดต่างแดน
ตามรอยหนังฮิต-ซีรีส์โดนใจ
บันเทิง-และความสนุก
ธรรมชาติ-และการผจญภัย
วัฒนธรรม-และประวัติศาสตร์
อัพเดตสถานการณ์-COVID19
หากใครเคยได้ไปเยือนในดินแดนบนเทือกเขาหิมาลัยที่มีพื้นที่ครอบคลุมหลายประเทศ จะสังเกตุได้ว่ามีสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่เหมือนๆ กัน นั่นก็คือ "ธงมนต์" ทั้งที่มีศาสนาที่แตกต่างกัน แต่ก็มีความเคารพ ความศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ร่วมกัน
ธงมนต์ สามารถพบได้ตามศาสนสถาน หรือตามบนภูเขา แม่น้ำ สะพาน ริ้วธงหลากสีสันและพริ้วไหวตลอดช่วงฤดูกาล แม้ในช่วงหน้าหนาวหิมะปกคลุม สีสันของธงมนต์ยังตัดกับสีขาวของหิมะ
ธงมนต์ เป็นตัวแทนความศรัทธา ความหวัง และคำขอพรจากผู้ที่นำผ้าหลากสีไปผูกไว้ เมื่อธงเหล่านั้นสะบัดปลิวก็เหมือนกำลังเปล่งเสียงบทสวดตามสายลม จนกลายเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นสัญลักษณ์ของความเคารพต่อธรรมชาติ เพื่อให้ภูติผีวิญญาณคุ้มครอง
ธงมนต์ยุคแรกๆ ถูกย้อมสีด้วยสีธรรมชาติ หรือธาตุทั้งห้า ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศธาตุ
สีเหลือง หมายถึงธาตุดิน
สีเขียว หมายถึงธาตุน้ำ
สีขาว หมายถึงธาตุลม
สีแดง หมายถึงธาตุไฟ
สีฟ้า หรือ สีน้ำเงิน หมายถึงอากาศธาตุ
บนผืนผ้าธงมนต์ จะมีคาถาที่เขียนกำกับเป็นภาษาสันสกฤตไว้ และรูปสัญลักษณ์ตรงมุมทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วยครุฑ มังกร เสือ สิงโตหิมะ หรือเรียกว่าธงลังตา มีความหมายให้เกิดความโชคดี ร่ำรวย และมีม้าลมบรรทุกอัญมณีตรงกลางผืนธง ในอดีตธงนี้ใช้เป็นธงนำทัพเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ และจะทำให้อายุยืนยาว
ปัจจุบัน ธงมนต์เหล่านี้สามารถผสมผสานเข้ากับสภาพแวดล้อมในแถบเทือกเขาหิมาลัย ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน ตลาด ร้านค้า หรืองานแต่งงาน รวมถึงในพื้นที่ประเทศอื่นๆ ก็อาจจะได้เห็นธงมนต์อย่างเช่น แถบไซบีเรีย รัสเซีย เป็นต้น
Photo Premium Freepik License
ชาเนย หรือเรียกว่า เผอจา ไม่ได้เป็นแค่ชาธรรมดา มีมานานแล้วในทิเบต ชานี้ได้แพร่หลายไปทั่วในหมู่ชาว Himalayan แถมยังมีคุณประโยชน์มากมาย